FARADAY and Accessories

 

 

 ฟ้าผ่า เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่แน่นอน มีความซับซ้อน และ ทำนายไม่ได้ จึงเป็นการยากที่จะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น อีกทั้งตึกสูงมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากในปัจจุบัน อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในตึก หรือที่อยู่อาศัยมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นระบบป้องกันฟ้าผ่าจึงมีความสำคัญมากขึ้นด้วย ความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า หมายถึง ความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิต และ ทรัพย์สิน อันตรายจากฟ้าผ่าเกิดจาก 3 สาเหตุ ได้แก่ ความร้อน ( เกิดเพลิงไหม้ ) แรงกล ( เกิดระเบิด ) และ กระแสไฟฟ้า ( อันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า )

ระบบป้องกันฟ้าผ่า ที่นิยมใช้สำหรับตึกสูงทั่วไป มี 2 ระบบ

 

    1. ระบบ ฟาราเดย์ คือ ระบบที่มีแท่งล่อฟ้าเป็นแท่งตัวนำที่ติดตั้งอยู่ส่วนบนของสิ่งก่อสร้าง ส่วนใหญ่ทำหน้าที่ล่อให้เกิดฟ้าผ่าลงมาที่แท่งตัวนำ แทนที่จะผ่าลงที่สิ่งปลูกสร้างที่ต้องการป้องกัน สายตัวนำทำหน้าที่เชื่อมต่อแท่งล่อฟ้าและแท่งอิเล็คโทรดซึ่งฝังลงดิน เพื่อนำกระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่าลงไปที่ดิน โดยไม่ทำความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้าง

   2  ระบบ EARLY STREAMER EMISSION เป็นระบบที่เมื่อมีลำประจุจากก้อนเมฆลงมา ทำให้สนามไฟฟ้ามีค่าสูงเพิ่มมากขึ้น แท่ง ESE จะปล่อยประจุออกมาและสร้างลำประจุขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วทำให้เกิดฟ้าผ่าลงที่แท่ง ESE แทนการลงที่จุดอื่นซึ่งไม่มีประจุล่อ.